บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010

โครงสร้างอะตอม สำหรับหลักสูตร วท.บ. และ พท.บ. ปี1

ประวัติ อะตอม ประมาณ 400 ปีก่อนคริสตศักราช - เดโมคริตุส นำเสนอแนวความคิดแรกเกี่ยวกับอะตอม นักปรัชญากรีก เดโมคริตุส (Democritus) และ ลุยซิปปุส (Leucippus) ได้เสนอทฤษฎีแรกเกี่ยวกับอะตอม ว่า อะตอมแต่ละอะตอมนั้นมีรูปร่างแตกต่างกัน ในลักษณะเดียวกับก้อนหิน ซึ่งรูปร่างนี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของอะตอม 1803 - จอห์น ดัลตัน (John Dalton) - พิสูจน์ว่าอะตอมนั้นมีอยู่จริง จอห์น ดัลตัน ได้พิสูจน์ว่าสสารประกอบขึ้นจากอะตอม แต่ก็ไม่ได้รู้ว่าอะตอมนั้นมีรูปร่างอย่างไร ซึ่งงานของดัลตันนี้ขัดแย้งกับ ทฤษฎีของการแบ่งแยกได้อย่างไม่สิ้นสุด (infinite divisibility) ซึ่งได้กล่าวว่า สสารนั้นสามารถถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยได้เสมอ อย่างไม่สิ้นสุด 1897 - โจเซฟ จอห์น ทอมสัน (Joseph John Thomson) - ค้นพบอิเล็กตรอน ความเชื่อที่ว่า อะตอม เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของสาร นั้นคงอยู่จนกระทั่งได้มีการพิสูจน์ให้เห็นว่าอะตอมนั้นยังประกอบด้วยอนุภาคที่เล็กกว่า โดยทอมสัน นั้นเป็นผู้ค้นพบอิเล็กตรอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอะตอมนั้นยังสามารถแบ่งแยกเป็นส่วนย่อยได้อีก 1898 - Marie und Pierre Curie - กัมมันตภาพรังสี 1900 - Ludwig Boltzman

บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นจากปูนขาว

รูปภาพ
บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง การทำปูนขาว  หน่วยที่  1)       กระบวนการทำปูนขาว                การผลิตปูนขาวเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีการผลิตมานานแล้วประมาณ 20 ปี โดยเริ่มตั้งแต่การนำหินปูนก่อเป็นรูปโค้งสูง มีพื้นที่ไว้ตรงกลางสำหรับการใส่ไม้ฟืนเพื่อเผา หลังจากนั้นจะทำการเผาเป็นเวลา 2 วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะทำการเผาโดยใช้ไม้ฟืนจากยางพารา เพราะให้ความร้อนได้ดี เมื่อเผาจนสุกดี หินจะมีลักษณะสีขาวขุ่น นำมากองรวมกันในลานกว้าง รดน้ำโยใช้ฝักบัวราดให้ทั่ว หินจะแตกเป็นผงเล็กๆ จากนั้นก็โกยเป็นกองและรวบรวมใส่ถุงบรรจุเพื่อจำหน่าย ภาพชุดที่ 1 การเตรียมหินโดยการทุบหินให้มีขนาดก้อนที่พอเหมาะซึ่งประโยชน์ที่ได้คือสามารถก่อกองหินรูปโค้งและเพิ่มพื้นที่ผิวต่อการได้รับพลังงานความร้อนจากการเผาไม้ฟืนยางพารา ภาพชุดที่ 2 การเตรียมพื้นที่ หน่วยที่    2)      กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากหินปูนเป็นปูนขาว                  การนำหินปูนมาเผาที่อุณหภูมิประมาณ 900 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 48 ชั่วโมง หินปูน ( CaCO 3 ) จะกลายเป็นปูนสุก ( CaO ) ที่มีลักษณะเป็นสีขาว เมื่อรดน้ำ ปูนสุกจะแตกออกเป็นผงปูน     ขาว( Ca ( OH ) 2 )

การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน

รูปภาพ
การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสานบูรณาการบนความพอเพียง การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน บูรณาการบนความพอเพียง “ ความพอเพียง” คือคำตอบของการอยู่รอดของมนุษย์และอยู่ร่วมกับสิ่งแวด ล้อมอย่างเกื้อกูลกัน ความพอเพียงคงเป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับมวลมนุษย์ผู้ที่มุ่งเสาะแสวงหาความอุดม สมบูรณ์บนพื้นฐานของความขาดดุลและถูกกระแสความรุนแรงของระบบทุนนิยมทำลาย ล้างจนไม่เหลือสิ่งใดแม้กระทั่งจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ ทำไมเรามวลมนุษย์ทั้งหลายถึงหลงวนเวียนในวัฏจักรแห่งความมั่งคั่งด้วยกิเลส ที่ขาดการยั้งคิดถึงผลกระทบที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม คงมีหลายคนที่เพียรพยายามที่จะหาทางแก้ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในสภาวะ ปัจจุบัน เช่น สภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นการเกิดโรคระบาด การสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดทำให้เกิดปัญหาใหม่ๆตามมา จนไม่สามารถหาสาเหตุอันแท้จริงได้ว่า ต้นเหตุของปัญหาในสังคมโลกในปัจจุบันนั้นมาจากสิ่งใด ใครบ้างที่รู้คำตอบ? ใครบ้างที่รู้วิถีทางแก้ไข?เคยมีใครคนหนึ่งถามผู้เขียนว่าหากวันหนึ่งไม

ศึกษาดูงานด้านสิ่งแวดล้อม 21 ก.ค. 2553

รูปภาพ
ศึกษาดูงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงาน การบำบัดน้ำเสีย การจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและความหลากหลายทางชีวภาพ ณ โรงงานสงขลาแคนนิ่ง จำกัดมหาชน และ สถานแสดงพันธ์สัตว์น้ำสงขลา ของนักศึกษาหลักสูตร วท.บ. (สาธารณสุขชุมชน) ชั้นปีที่ 4 Asssignment 15 point หัวข้อรายงานการศึกษาสำหรับการไปศึกษาดูงาน ดังนี้ บริษัท สงขลาแคนนิ่ง จำกัดมหาชน 1) ประวัติความเป็นมาของบริษัท 2) ผลิตภัณฑ์สินค้าและการตลาด 3) แหล่งทรัพยากรหรือวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพและแนวคิดในการผลิต 4) การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงงาน 5) กระบวนการจัดการน้ำเสีย (น้ำเสียจากอะไร มีกี่ขั้นตอน รายละเอียดแต่ละขั้นตอน และเทคโนโลยีการนำกลับมาใช้ใหม่ทั้งน้ำเสีย กากของเสียและพลังงาน) 6) ผ่านมาตรฐานอะไรบ้าง จากหน่วยงานใด (เช่น ISO OHSAS HACCP เป็นต้น) สถานแสดงพันธ์สัตว์น้ำ จังหวัดสงขลา 1) ระบบนิเวศที่ได้ชมไป มีกี่ระบบ อะไรบ้าง 2) ในแต่ละระบบมีสัตว์และพืชอะไรบ้าง มีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้นในลักษณะใด และอย่างไรบ้าง ข้อคิดและข้อเสนอแนะ 1) นักศึกษาได้รับประโยชน์ ข้อคิดและแนวทางการจ

บันทึกครอบครัวและการเดินทาง1

รูปภาพ
น้องดิอาม

การจัดการเรียนรายวิชาสิ่งแวดล้อม

รูปภาพ
รายวิชาปฏิบัติการอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นรายวิชากลุ่มวิชาเฉพาะด้าน ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน) ชั้นปีที่ 4 ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ตั้งแต่การเก็บตัวอย่างจนถึงการวิเคราะห์ตัวอย่าง นอกจากนี้ยังรวมถึงการศึกษาคุณภาพอากาศและคุณภาพดินด้วย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้กำหนดพื้นที่ศึกษาไว้ 6 พื้นที่ ได้แก่ คุณภาพน้ำและดินในแม่น้ำตำบลถ้ำทะลุ คุณภาพอากาศบริเวณโรงโม่หินตำบลลิดล คุณภาพน้ำในแม่น้ำปัตตานี(เทศบาลนครยะลา) ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์บริเวณแม่น้ำปัตตานี

เกริ่นนำ

รูปภาพ
บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเป็นหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและดูแลสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดดังนี้ครับ -เคมี สิ่งแวดล้อม และสัพเพเหระทางวิชาการ -การจัดการเรียนการสอน -แนวคิด -บันทึกการเดินทาง -รูปภาพสวยๆ -ข้อเสนอแนะดีๆ ภาพบรรยากาศบริเวณไร่ชา ณ คาเมรอนไฮแลนด์ ประเทศมาเลเซีย การพัฒนาบนพื้นฐานการตัดไม้ทำลายป่าหรือไม่ คุ้มหรือไม่คุ้ม คงต้องกลับมาพิจารณากัน... การทำไร่ชาและไร่สตรอเบอรรี่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนภูกับการถางต้นไม้บนภูเขา หากเลือกได้ พวกเขาจะเลือกอย่างไร แต่อย่างน้อยก็ยังดีกว่าสร้างห้างสรรพสินค้าหรืออาคารโรงงานอุตสาหกรรม เพราะนี้ก็นับได้ว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานธรรมชาติได้ในระดับหนึ่ง นักศึกษาหรือใครที่มีแนวคิดหรือความคิดเห็นทางสิ่งแวดล้อม เชิญร่วมได้นะครับ ใช้ชีวิตบนพื้นฐานการดูแลสิ่งแวดล้อมนะครับ